เมื่อลูกน้อยชอบเอาแต่ใจ งอแง

 

การอบรมปลูกฝังลูก นั้นควรทำอย่างมีแบบแผน    ในครั้งที่เด็กทำตัวดื้อซน  ผู้ใหญ่ต้องสั่งสอนอย่างเจตนาที่จะอบรม

แต่มิใช่ ผู้ใหญ่มีอารมณ์ร่วมในทางโมโห   การไม่ตามใจเด็กการ ไม่ให้ในสิ่งที่เด็กกำลังเอาแต่ใจ  การขัดขืนเด็ก

การหยุดหรือการยึดสิ่งใดๆจากเด็กต้องกระทำด้วย การแสดงออกทางลักษณะของสีหน้าน้ำเสียง ที่ปกติแต่หนักแน่นในเหตผล

ไม่โกรธ ไม่โมโห ไม่ขู่ว่าจะไม่รัก ไม่ใช้การขู่อันใด ที่สร้างความวิตกกังวลให้กับเด็ก

ไม่แม้แต่การแกล้งทำสีหน้า โกรธ หรือเย็นชาหรืองอน ใส่เด็ก   สิ่งที่คุณควรทำนั่นก็คือการส่งเสริมปลูกฝังให้เด็กมีความรู้สึกยอมรับ ในสิ่งที่ควรหรือไม่ควรให้ได้ด้วยตัวเขาเอง   ใช้สีหน้าท่าทางปกติ เมื่อทำบ่อยๆขึ้น เด็กจะเริ่มเข้าใจในโปรแกรมนี้

ทำเพราะรู้ว่าต้องทำ  ไม่ทำเพราะรู้ว่าไม่ควรทำ   เด็กจะให้ค่าความสำคัญกับความหมายนี้ โดยไม่ถูกเหตผลอื่นอำพรางหรือซ้อนเอาไว้อยู่

เด็กจะรู้อะไรเขาจะได้ อะไรเขาจะไม่ได้ อะไรที่เขางอแงไปก็ไม่ได้ผล

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องแยกแยะให้ออกระหว่างพ่อแม่ที่ทำท่าเฉย  ทำไม่แยแสสนใจปล่อยเด็กร้องไห้งอแง แบบนั้นก็ไม่ใช่

หากคุณทำเช่นนั้น บ่อยๆเด็กอาจจะพยายามหาทางขยายอาการเรียกร้องความสนใจให้มากยิ่งขึ้น และติดเป็นนิสัยได้

สิ่งที่ควรทำนั้นคือ เริ่มจากเตือนสติตัวเอง จำแบบแผนที่ซักซ้อมเอาไว้ว่า ต้องควบคุมอารมณ์ตนเองให้ได้ ต้องตระหนักเสมอว่าคือเวลาที่กำลังฝึกเด็ก อย่ามีอารมณ์ร่วมในทางโมโห

ควรตระเตรียมห้องที่เหมาะสม ในการอบรมลูกอันเป็นห้องที่สามารถรองรับเสียงร้องไห้ของลูกได้อย่างไม่รบกวนใครอื่นนอกจากตัวเราและเด็ก

ในครั้งแรกๆ คุณอาจต้องอดทนกับเสียงของเด็ก  อย่าพยายามเร่งเร้าบีบบังคับให้เด็กเงียบ  จงให้ความสนใจมองเขา ให้เขารู้ว่าแม้เขาจะเรียกร้องให้เราสนใจได้แต่เขาก็จะไม่ได้ในสิ่งที่กำลัง งอแง

มองเขาอย่าปราณี ทำดั่งพ่อแม่ที่รักลูกมากกำลัง ร่วมโอบกอดลูกให้ผ่านอุปสรรคทางบทเรียนนี้ไปให้ได้ร่วมกัน

คล้ายพ่อแม่ที่กำลังช่วยลูกที่ติดยาที่กำลังถูกสารเคมีเสพติดควบคุมอารมณ์ที่คุ้มคลั่ง และเช่นเดียวกัน เราเองก็กำลังร่วมช่วยให้ลูกเอาชนะ พฤติกรรมเอาแต่ใจที่กำลังครอบงำลูก

มองเขาและอธิบายเหตผลกับเขา ถึงเขาจะไม่ฟังไม่รับรู้ คุณต้องพูดไปเรื่อยๆ อย่างอดทน  พูดในแบบที่ง่ายๆ ชี้แจงอย่างไม่ซับซ้อนไม่ยาวความเกินไป อดทนจนกว่าเขาจะหยุดร้องด้วยตัวของเขาเอง   เมื่อเด็กสงบดีแล้ว จึงบอกให้เขาทราบว่า ไม่ว่าอีกกี่ครั้งที่เขางอแงแบบนี้อีกเขาก็จะไม่ได้ในสิ่งที่เอาแต่ใจ

การแก้ไขปัญหาเด็กเอาแต่ใจสิ่งสำคัญที่สุดนั่นก็คือพ่อแม่ต้องยอมรับ ว่ามันคือสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข  ไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง และก็ไม่ควรจะละเลย

หัวใจสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก ต้องใช้ความสม่ำเสมอและอดทนอย่างถูกต้อง

 

Leave a Comment

Your email address will never be published or shared and required fields are marked with an asterisk (*).