ความสำคัญของหมวกสำหรับเด็กเล็ก

มีเด็กมากมาย ที่มีพฤติกรรมไม่ชอบสวมหมวก หรือไม่ชอบห่มผ้า ซึ่งมักจะดึงหมวกออก หรือนอนสลัดผ้าห่ม ออกเป็นประจำ หรือถึงขั้นคุณแม่เอาหมวกใส่ให้ทีไรเป็นเบะปากทำหน้าโยเย โวยวายหงุดหงิดก็มี

ปัญหาเล็กๆเหล่านี้ ที่ผู้ใหญ่มักคิดว่า อาการของเด็กที่ไม่ชอบใส่หมวกนั้นเป็นเรื่องเล็กๆ บางคนมีบ้างที่ยิ่งขำในความน่ารักของเด็กๆที่งอแง และมองว่าเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการบังคับ

แต่จะดีกว่าไหมหากว่าสามารถทำให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อหมวกและผ้าห่มได้ รวมถึงไม่ต้องส่งผลกระทบต่อภาะวะอารมณ์และสุขภาพจิตของเด็กที่จะนำสู่พฤติกรรมทางนิสัยได้

ปัญหาแรกๆที่ต้องวิเคราะกันบ้างสักหน่อย นั่นก็คือเรื่องของขนาด ของหมวก ซึ่งควรพิจราณาว่ามีขนาดที่ไปสร้างความอึดอัด คับแน่น หรือหลวมย้วย มีลักษณะรุงรังรุ่มร่ามน่ารำคาญหรือไม่

ควรเลือกขนาดไซส์ที่ให้ความพอดี ไม่รัดไปไม่หลวมไปมีความอยู่ตัวสร้างความสบาย นอกจากนี้ยังควรสังเกตในเรื่องลักษณะของใยผ้า ว่าสวมใส่แล้วสร้างความคัน หรือรู้สึกแออัด หรือไม่

โดยในกรณีนี้นอกจากเกิดขึ้นได้จากชนิดของใยผ้าเองแล้ว ยังเกิดขึ้นได้จากการทักทอที่ไม่เข้ารูป มีช่วงตะเข็บหรือเกิดใยฝอยที่สร้างความก่อกวนใจ หรืออาจเกิดขึ้นได้จากการละเลยที่จะทำความสะอาด

ซึ่งหมวกบางใบที่ยังแลดูด้วยสายตา มองว่าสะอาดแต่แท้ที่จริงแล้วอาจจะมีการหมักหมม

ทำให้เมื่อสวมใส่แล้วมักจะสร้างความคันหรือแสบแพ้ได้ง่าย ซึ่งมีแต่ผู้สวมใส่เองที่จะทราบได้เอง แถมยังเป็นศรีษะอันบอบบางของลูกน้อยเท่านั้น ที่จะรับทราบปฏิกริยานั้นได้

นอกจากนี้ในเรื่องของการเก็บกักอุณภูมิอากาศ และความสะดวกของการไหลผ่านของอากาศก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเช่นกัน

การใส่หมวกให้ลูกน้อย โดยเฉพาะยามเดินทาง แม้ว่าอุณภูมิที่ยังไม่ถึงกับเย็นแต่เริ่มเย็น หรือมีไอน้ำค้างในยามเช้าหรือกลางคืน หรืออยู่ในช่วงคาบผ่านของภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปมา นั้นเป็นสิ่งที่ควรพึงกระทำ เพราะลักษณะทางร่างกายของเด็ก มีกระหม่อมที่บอบบาง มีผิวสัมผัสที่รับภาวะต่างๆได้ไม่มากนัก

การรับต่อผลกระทบของสภาพอากาศ มีความอ่อนไหวสูงกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งหมวกที่เหมาะกับแต่ละภาวะทางสภาพอากาศนั้น ควรมีแยกไว้มากกว่าหนึ่งใบ อย่างเช่นในอากาศหนาวก็ควรจะพิจารณาเลือกใช้หมวก ที่มีลักษณะหนา เก็บกักความอุ่นและป้องกันการแทรกซึมความเย็น

หมวกในอากาศร้อนในยามที่อาจต้องเดินผ่านกลางแจ้ง ผ่านแดดแรงๆ ก็ควรใช้หมวกที่ช่วยกันมลภาวะได้ครอบคลุม ให้ร่มเงาบังใบหน้า ใช้วัสดุที่ไม่ดึงดูดการอมความร้อน และมีการไหลเวียนผ่านของอากาศได้ดี

หรือหมวกผ้าบางๆไว้ใส่ในภาวะอากาศสบายๆหรือ จังหวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างรวดเร็วเช่น การเข้าออกจากห้องแอร์ หรือจากรถ หรือจากห้างสรรพสินค้า  ออกสู่ภายนอก ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว ร่างกายของเด็กจะต้องมีการปรับสภาพที่แปรผลันอย่างฉับพลัน โดยเสื้อผ้าและหมวกที่เหมาะสมจะช่วยให้การปรับอุณภูมิของร่างกายนั้นมีกระบวนการที่ไม่กระชากเร็วไป แต่ค่อยๆปรับได้อย่างไม่เป็นภาระให้ร่างกายทำงานหนักจนสุ่มเสี่ยงกับการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือทรุดเพลีย  ซึ่งอาจเป็นสาเหตของอาการเป็นไข้ ของลูกที่พ่อแม่หลายคนอาจยังขาดความเข้าใจรู้เท่าทัน

Leave a Comment

Your email address will never be published or shared and required fields are marked with an asterisk (*).