ความเข้าใจเกี่ยวกับอุบัติเหตพื้นฐานที่ควรสอนลูกน้อย

เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าเด็กคือวัยที่ ยังไม่พร้อมในการพบเห็นสื่อที่รุนแรง

แต่ทว่าเด็กในวัยที่เริ่มรู้ประสา นั้นเป็นวัยที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตที่ไม่เคยรู้เท่าทันบทเรียนเป็นอย่างยิ่ง

การอบรมสอนตัวอย่างให้กับเด็กถือเป็นวัคซีนความรู้อันสำคัญที่จะช่วยปกป้องลูกน้อย จากอุบัติเหตุต่างๆได้อย่างมีประโยชน์มหาศาล การคัดกรองสื่อที่ไม่มีภาพเสียงที่รุนแรงทำร้ายขวัญเด็ก นั้นเป็นเรื่องที่กระทำได้ ซึ่งยังมีสื่อและวิธีที่ไม่สร้างความตกใจในภาพรุนแรง แต่สร้างความรู้สร้างสติให้กับเด็กได้

รวมถึงวิธีต่างๆที่พ่อแม่นำเสนอให้กับเด็ก

การพยายามเสาะหาตัวอย่างหรือการจำลองเหตการณ์ ในแบบที่เหมาะกับเด็กจะเข้าใจและรับสื่อได้นั้นยังพอมีหนทาง  ซึ่งไม่ควรจะละเลยด่วนสรุปว่าเด็กคือวัยที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรยากเกินจะสอน

โดยอุบัติเหตพื้นฐานที่มักเกิดขึ้นกับเด็กนั้นประกอบไปด้วยดังนี้

1อุบัติเหตในการพลัดตกหรือหกล้ม

ควรสอนให้ลูกได้รู้จักการประเมินพื้นที่ ที่เสี่ยงต่ออันตรายประเภทนี้ ซึ่งในลักษณะพื้นผิวหรือรูปทรงต่างๆ โดยปกติแล้วเด็กจะมีประสบการณในการจดจำ และมีความมั่นใจว่าจะควบคุมตัวเองได้ แต่สำหรับบางพื้นผิวหรือบางรูปทรงอาจมีความซับซ้อนหรือมีลักษณะที่ซ่อนอยู่ เกินกว่าประสบการณ์ของเด็ก

พื้นผิวบางอย่างมีการลื่นหรือสะดุดได้โดยง่าย โครงสร้างบางอย่าง มีลักษณะที่ง่ายต่อการพลัดตก หากเกาะเกี่ยวดึงโหน หรือมีลักษณะที่สร้างความบาดเจ็บได้มากหากพลัดตก และนี่คือสิ่งที่ผู้ใหญ่สามารถอธิบายให้เด็กเข้าใจได้

2 อุบัติเหตการเกิด อวัยวะติด

เด็กมักจะชอบใช้นิ้วแหย่ซอกมุมหลืบต่างๆหรือแม้แต่การมุด ทั้งตัวหรือหัว ซึ่งซอกหลืบหรือช่องต่างๆบางแห่งมีลักษณะที่เข้าได้แต่ออกยาก และผู้ใหญ่สามารถที่จะสอนให้เด็กๆเข้าใจหลักการเหล่านี้ได้

3อุบัติเหตุทาง การสัมผัส

ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสเชื้อโรค สัมผัสพิษจากพืชหรือสัตว หรือสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า  สัมผัสกับของมีคมซึ่งผู้ใหญ่ต้องขยันควรที่จะต้องบอกสอนให้เด็กเข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงวัตถุที่ไม่ควรสัมผัสรวมถึงผลที่เกิดขึ้นหากสัมผัส ทั้งนี้รวมถึงอันตรายจากการนำสิ่งของเข้าปากด้วย

4อันตรายจากการสูดดม

รอบตัวเรามีมลภาวะมากมายที่เป็นพิษไม่ควรสูดดม ส่งผลได้ทั้งเฉียบพลันและระยะยาว ผู้ใหญ่ควรสอนให้เด็กเข้าใจถึงลักษณะของกลิ่นที่แปลกปลอมและไม่พึงประสงคต่างๆรวมทั้งวิธีรับมือ การลดผลกระทบการเลี่ยงและการออกห่าง  ซึ่งเด็กเองนั้นมักมีพฤติกรรมการสูดดม เรียนรู้

5อันตรายจากท้องถนน

ในเด็กที่ได้รับการดูแลปกป้องอยู่เสมอมักจะมีความมั่นใจและละเลย และมักมองโลกอย่างปลอดภัยไปทุกที่ดังนั้นผู้ใหญ่ควรปลูกฝังทัศนคติของเด็กให้ทราบว่าพื้นที่ของท้องถนนคือบริเวณที่ต้องมีความระมัดระวังสูง ให้เด็กมีความตื่นตัวระแวดระวังอยู่เสมอ

Leave a Comment

Your email address will never be published or shared and required fields are marked with an asterisk (*).