การกระตุ้นพัฒนาการเด็กอ่อน

Tagged: , ,

การใคร่รู้ใคร่สนใจสิ่งรอบข้าง นั้นเป็นเรื่องที่มีอยู่ในวิสัยทั่วไปของเด็กๆ นี่คือเรื่องที่พ่อแม่โดยส่วนใหญ่มักทราบดีในลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ แต่บางครั้งการตระหนักแต่เพียง คิดว่าธรรมชาติจะสามารถสร้างสรรค์ลูกของตนนำสู่พัฒนาการได้เองในทุกเรื่องดูจะเป็นความเข้าใจที่ละเลยเป็นอย่างยิ่ง

โลกนี้ยังมีเด็กอีกบางส่วนที่ถูกปิดกั้นการพัฒนาการ พัฒนาการได้ช้า พัฒนาการไม่เป็นระบบ หรือแม้แต่พัฒนาการที่เสื่อมถอยลง ด้วย สภาพแวดล้อมหรือวิธีปฏิบัติดูแลที่ผิดๆหรือบกพร่อง ละเลย

นอกจากนี้ยังมีพ่อแม่อีกหลายคน ที่อาจไม่ทราบความสำคัญของการปูทางพัฒนาการของเด็ก ที่มีระยะของการนับกระบวนการเริ่มต้น ตั้งแต่วัยทารกอันมีส่วนกำหนดทิศทางของพัฒนาการ มิใช่ดั่งที่หลายครอบครัวเข้าใจว่ามักเริ่มต้นในชั้นวัยอนุบาลหรือประถม ดังนั้น ความหมายก็คือ หากพ่อแม่ให้ความใส่ใจในการกระตุ้นพัฒนาการของลูกนับตั้งแต่เริ่มต้นเด็กคนนั้นย่อมได้รับประสิทธิภาพ ที่ปูทางทวีคูนได้ดีขึ้นในทุกช่วงวัย

ไม่ว่าจะเป็นการให้ความใกล้ชิดคลุกคลี ให้การสัมผัสแห่งความรักความถนุถนอม ให้การกระตุ้นด้วยภาพที่เหมาะสม พามองสิ่งต่างๆ หรือกระตุ้นด้วยเสียงต่างๆที่เหมาะสม ทุกการกระทำที่แม้ว่าอาจมองว่าเด็กอ่อนนั้นยังเป็นวัยที่ยังไม่รู้ประสาไม่พร้อมที่จะจดจำข้อมูล แต่แท้ที่จริงแล้วย่อมมีการเชื่อมโยงถึงขั้นรากฐานได้

ความทรงจำต่อภาพและเสียงรวมถึงวัตถุรูปทรงต่างๆ จะถูกปลูกถ่ายเข้าสู่ระบบการรับรู้ และแปรสภาพสู่การสร้างความสัมพัณธ์กับสรรพสิ่งบนโลก โดยเฉพาะกับสิ่งที่เด็กได้คลุกคลี รวมถึงการสร้างความรู้สึกสนใจเป็นพิเศษหรือคุ้นเคยเป็นพิเศษ รวมไปถึงความผูกพัณธ์เป็นพิเศษ อันเป็นเรื่องที่ง่ายในการสานต่อเมื่อเด็กเข้าสู่วัยที่รู้ภาษา

และนอกจากนี้ยังเป็นการทำให้เด็กได้บริหาร ระบบประสาทต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบประสาทในการแยกแยะ ระบบประสาทในการตอบสนอง หรือแม้แต่ระบบประสาทในการติดตามมองวัตถุเคลื่อนไหวพร้อมทั้งได้บริหารกล้ามเนื้อที่ใช้เคลื่อนไหวในส่วนต่างๆ

ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีในเรื่องการพัฒนาการของเด็กแล้ว ยังช่วยป้องกันหรือแก้ไขข้อบกพร่องทางร่างกายที่อาจมีแอบแฝงอยู่ทางพันธุกรรมในตัวเด็กซึ่งอาจแสดงออกเมื่อเริ่มโตขึ้น

โดยรูปแบบการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอ่อนนั้นสามารถเริ่มต้นทำได้อย่างง่ายๆ หลากหลายหนทาง

อย่างเช่นการพูดคุยกับเด็ก การทำเสียงที่แปลกใหม่ให้เด็กสนใจ การหาสีสันของวัตถุโดยเฉพาะหากจัดหาวัตถุชนิดเดียวกันรูปทรงเดียวกันแต่ต่างสีสันกันให้เด็กได้จับถือ มองดู

อีกทั้งการนำเสนอวัตถุที่มีรูปทรงไม่ซับซ้อน แต่มีรูปทรงที่แตกต่างมานำเสนอให้เด็ก หรือการทำวัตถุมาถือเคลื่อนไหวช้าๆให้เด็กมองตาม เหล่านี้ก็เป็นไอเดียพื้นฐานที่ดีที่สามารถทำได้  โดยวิธีการและการจัดหาสิ่งของใดๆนั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากสำหรับเด็กอ่อน

แต่สิ่งสำคัญที่สุดนั่นก็คือ การให้เวลา  และการให้ความคลุกคลี ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ

พัฒนาการใดที่ควรสร้างความเคยชินก็พยายามให้ความสม่ำเสมอ พัฒนาการใดที่ต้องการความแปลกใหม่ก็พยายามสรรสร้างหรือสรรหาความแปลกใหม่

ปฏิบัติอย่างแฝงด้วยการกระทำที่อ่อนโยน ถนุถนอม แฝงด้วยสัมผัสแห่งความรัก ทางสัมผัส ทางน้ำเสียงและแววตา ซึ่งจะสร้างประโยชน์ได้ทั้งกับตัวเด็กและทั้งพ่อแม่ ให้เรียนรู้สายสัมพัณธ์ที่ดีไปพร้อมๆกัน

พ่อแม่ก็จะได้ฝึกพัฒนาการในความเคยชินของการปฏิบัติตัวที่นำสู่การดูแลในช่วงวัยที่โตขึ้นได้อย่างเคยชินต่อนิสัยที่ให้ความใส่ใจ อยู่เสมออีกด้วย

 

 

 

 

Leave a Comment

Your email address will never be published or shared and required fields are marked with an asterisk (*).